วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎสัดส่วนคงที่

กฎสัดส่วนคงที่ 
นิยามของกฎสัดส่วนคงที่

 โจเซฟ  เพราสต์   ทดลองศึกษาปฏิกิริยาการรวมตัวของธาตุที่เกิดสารประกอบ  พบว่า
         
 “เมื่อธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ อัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่เป็น
องค์ประกอบนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ  ไม่ว่าจะเตรียมสารประกอบนั้นด้วยวิธีการใดๆ  ก็ตาม

          เช่น   การเตรียมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  อาจทำได้หลายวิธีดังนี้
                  CaCO3     --->    CaO    +   CO2
                  C   +   O2    --->       CO2
                  CaCO3   +   2HCl   --->   CaCl2   +   H2O    +   CO2
          ไม่ว่าจะเตรียมโดยวิธีใด  อัตราส่วนโดยมวลของ  C  :  O   ใน  CO2   =   3  :  8  เสมอ

ตัวอย่างเช่น น้ำ (H2O)  เกิดจากธาตุ  2  ชนิด  คือ  H  และ   O
                    ธาตุ  H   +  ธาตุ  O  --->     สารประกอบ
   H2O  ไม่ว่าจะนำมาจากที่ใดหรือเตรียมขึ้นมาด้วยวิธีการใด  ย่อมประกอบด้วยธาตุ  2  ธาตุ  คือ  H  กับ  O
 มารวมกัน  โดยมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุ  H  และ  O  เป็น  1 : 8  ซึ่งเป็นอัตราส่วนคงที่เสมอ
การทดลอง 
มวลของธาตุที่ใช้ 
        (กรัม)              
อัตราส่วน   H  :  O  เมื่อเกิดน้ำ

             H 
            O

1
2
3
4
5
0.5
2.0
5.0
10
15
4
16
40
80
120
 1   :   8
 1   :   8
 1   :   8
 1   :   8
 1   :   8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น